เลือกหน้า
  •  

    ประวัติ ความเป็นมา ของวิทยาลัยฯ

                    พระครูพิศาลสมณกิจ เจ้าอาวาสวัดยาง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้จัดตั้งโรงเรียนและกำหนดชื่อให้เข้ากับยุคสมัยนั้นโดยให้ชื่อโรงเรียนช่างไม้วัดยาง

                     เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2478 สังกัดอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี (ต่อมาพระคุณเจ้าได้เลื่อน      สมณศักดิ์เป็นพระเทพวงศาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี) ครั้นถึงปี พ.ศ.2480 หลังจากที่เปิดทำการสอนได้ประมาณ 2-3 ปี โรงเรียนช่างไม้วัดยาง ได้โอนไปขึ้นกับเทศบาลเมืองเพชรบุรี ในระยะเวลาต่อมาเมื่อมีผู้สนใจมากขึ้น จึงทำให้บริเวณวัดขางคับแคบเกินไป ไม่สามารถที่จะขยายต่อไปได้อีกแล้ว พระครูพิศาล   สมณกิจ และครูสงวน มณีแสง ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน ได้ดำเนินการย้ายกิจการทั้งหมดของโรงเรียนมาตั้งที่วัดเลาซึ่งเป็นวัดร้างตั้งอยู่ตรงข้ามพระราชวังรามราชนิเวศน์ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี ที่ถนนบริพัตร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน พร้อมกันนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนช่างไม้เพชรบุรี

                     พ.ศ. 2481             โรงเรียนช่างไม้เพชรบุรี ได้โอนไปสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2481 รับผู้จบระดับประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 ตามหลักสูตร กรมอาชีวศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้นเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 3

                     พ.ศ. 2485              โรงเรียนช่างตัดผมได้โอนแยกออกไปจากโรงเรียนช่างไม้เพชรบุรี

                     พ.ศ. 2490              เปิดสอนระดับประถมการช่างปีที่ 4

                     พ.ศ. 2499              เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง 1 ปี รับผู้จบ ม.3 (สายอาชีพ) แต่ไม่เป็นที่นิยมของนักเรียน

                                                     เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แผนกช่างปูนหลักสูตร 3 ปี รับผู้จบจากชั้นประถมปีที่ 4

                     พ.ศ. 2500              เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง

                                                     แผนกปลูกสร้างหลักสูตร 3 ปี รับผู้จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายอาชีพ

                                                     แผนกช่างก่อสร้าง รับผู้จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ

                     พ.ศ. 2510              เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง

                                                     แผนกช่างยนต์ หลักสูตร 3 ปี รับผู้จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สายสามัญและสายอาชีพ

                     พ.ศ. 2515              เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง

                                                     แผนกช่างเชื่อมและโลหะแผ่น หลักสูตร 3 ปี

                      พ.ศ. 2517              เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง

                                                     แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง หลักสูตร 3 ปี

                     พ.ศ. 2519              เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง

                                                     แผนกช่างกลโรงงาน หลักสูตร 3 ปี

                                                     แผนกช่างวิทยุและโทรคมนาคม หลักสูตร 3 ปี

                     พ.ศ. 2523              กรมอาชีวศึกษาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนการช่างเพชรบุรี เป็น โรงเรียนเทคนิคเพชรบุรี

                     พ.ศ. 2524              กรมอาชีวศึกษาได้ยกฐานะโรงเรียนเทคนิคเพชรบุรี เป็น วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

                     พ.ศ. 2525              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)

                                                     สาขาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า หลักสูตร 2 ปี รับผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญและเทียบเท่า

                     พ.ศ. 2527              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

                                                     สาขาวิชาช่างไฟฟ้า                             สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า

                                                     สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์             สาขางานอิเล็กทรอนิกส์

                     พ.ศ. 2534              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

                                                     สาขาวิชาช่างก่อสร้าง                         สาขางานช่างก่อสร้าง

                                                     สาขาวิชาช่างยนต์                               สาขางานเทคนิคยานยนต์

                     พ.ศ. 2536              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคค่ำ

                                                     สาขาวิชาช่างไฟฟ้า                            สาขางานติดตั้งและควบคุม

                                                     สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์             สาขางานอิเล็กทรอนิกส์

                     พ.ศ. 2537              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคค่ำ

                                                     สาขาช่างยนต์

                                                     เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ภาคค่ำ

                                                     สาขาวิชาช่างกลโรงงาน                   แผนกงานเทคนิคการผลิต

                                                     สาขางานเครื่องกล

                     พ.ศ. 2538              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

                                                     สาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะ                                สาขางานวิศวกรรมงานเชื่อม

                                                     สาขาวิชาช่างไฟฟ้า                             สาขางานเครื่องเย็นและปรับอากาศ

                                                     สาขาวิชาช่างเทคนิคโลหะ                                สาขางานวิศวกรรมงานเชื่อม

                                                     สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์             สาขางานอิเล็กทรอนิกส์

                                                     เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบอาชีวศึกษาทวิภาคี

                     พ.ศ. 2540              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

                                                     สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม          สาขางานซ่อมบำรุง

                     พ.ศ. 2545              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับจากผู้จบ ม.6

                                                     สาขาวิชาช่างเทคนิคการผลิต            สาขางานเครื่องมือกล

                                                     สาขาวิชาช่างไฟฟ้า                             สาขางานเครื่องมือกลไฟฟ้า

                                                     สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์             สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์

                                                     สาขาวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม   สาขางานติดตั้งและบำรุงรักษา

                     พ.ศ. 2546              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับจากผู้จบ ม.6

                                                     สาขาวิชาโยธา

                                                     สาขาวิชาเครื่องกล

                     พ.ศ. 2547              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบอาชีวศึกษาทวิภาคี     รับจากผู้จบ ปวช.

                                                     สาขาวิชาเครื่องกล                              สาขางานเทคนิคยานยนต์

                     พ.ศ. 2548              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

                                                     สาขาวิชาพาณิชยการ                          สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

                     พ.ศ. 2551              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

                                                     สาขาวิชาการก่อสร้าง                         สาขางานโยธา

                     พ.ศ. 2553              เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับจากผู้จบ ม.6

                                                     สาขาวิชาเทคนิคโลหะ                       สาขางานเทคนิคการเชื่อมโลหะ

                     พ.ศ. 2557              เปิดสอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิต ปริญญาตรี

                                                     สาขาเทคโนโลยีการไฟฟ้า (ต่อเนื่อง)

                     พ.ศ. 2558              เปิดสอนระดับเทคโนโลยีบัณฑิต ปริญญาตรี

                                                     สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง)

                                                     สาขาเทคโนโลยียานยนต์ (ต่อเนื่อง)

                       วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี    ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่  115 ถนนบริพัตร   ตำบลท่าราบ   อำเภอเมือง   จังหวัดเพชรบุรี   76000  โทร. (032)  425705, 425432  โทรสาร  (032)   425705     www.pbtc.ac.th

                     อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี    เป็นระยะทางประมาณ   3   กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร  129  กิโลเมตร    ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งสิ้น  30  ไร่  1  งาน  56  ตารางวา

                     วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ตั้งอยู่เลขที่  115  ถนนบริพัตร  ตำบลท่าราบ  อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบุรี       อยู่สองฝั่งของถนนบริพัตร  มีเนื้อที่  30  ไร่  1  งาน  56  ตารางวา

                                     ทิศเหนือ                ติดต่อกับชุมชนวัดจันทราวาส

                                     ทิศใต้                      ติดต่อกับชุมชนต้นมะม่วง

                                     ทิศตะวันออก       ติดต่อกับชุมชนไร่ขิง

     ทิศตะวันตก          ติดต่อกับแนวฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี  ตรงข้ามกับพระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน)  สภาพพื้นที่ของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี  ไม่สามารถขยายในแนวราบได้  เนื่องจากมีชุมชนอยู่หนาแน่นโดยรอบ

     การเดินทาง 

                    การเดินทางโดยรถโดยสารระยะสั้นๆ ในท้องถิ่นหรือโดยพาหนะส่วนตัว ตามเส้นทางถนนบริพัตร

     เข้าสู่วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี  ซึ่งสถานที่ตั้ง  ห่างจากตลาดวัดเกาะไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ  1กิโลเมตรและห่างจากถนนเพชรเกษม มาทางทิศเหนือ  ผ่านด้านหลังศูนย์การค้าบิ๊กซี  สามแยกต้นมะม่วง  แล้วเลี้ยวขวามาถนนบริพัตร รวมระยะทางประมาณ 2  กิโลเมตร   เข้าสู่วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี    

                     อาคารเรียน

                     การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี  มีการเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติ  ดังนั้น  อาคารเรียนของวิทยาลัย  ประกอบด้วย

     อาคาเรียน 2  ชั้น  1  หลัง  อาคารเรียน  4  ชั้น  2  หลัง

    อาคารฝึกงานแผนกช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน  ช่างเชื่อมโลหะ  ช่างก่อสร้าง  ช่างไฟฟ้า  ช่างอิเล็กทรอนิกส์  ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม  และช่างเทคนิคพื้นฐาน

                    เนื่องจากสภาพพื้นที่ของวิทยาลัยค่อนข้างคับแคบ  อาคารฝึกงานของแผนกช่างต่าง ๆ มีพื้นที่ติดต่อกันและใกล้กับอาคารเรียน  การขยายพื้นที่ของวิทยาลัยฯ ทำได้ยาก  การขยายพื้นที่ฝึกงานในแนวราบทำได้ยาก  จึงสมควรขยายพื้นที่ในแนวตั้ง  คือ  ปรับเป็นอาคารฝึกงาน 3  หรือ  4  ชั้น

                     ห้องปฏิบัติการกลาง (Central  Lab)

                     เนื่องจากการเรียนวิชาชีพต่าง ๆ ต้องใช้อุปกรณ์  ครุภัณฑ์ที่ใช้ในการฝึกของแต่ละแผนก  ซึ่งอุปกรณ์ครุภัณฑ์ต่าง  ๆ  สามารถใช้ร่วมกันในแต่ละแผนกช่างได้  แต่สภาพปัจจุบันยังขาดแคลนห้องที่จะจัดทำห้องปฏิบัติการกลาง  ดังนั้น  อุปกรณ์  ครุภัณฑ์ที่ใช้ในการฝึกจึงกระจายตามแผนกช่างต่าง  ๆ ถ้ามีงบประมาณมากพอที่จะดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการกลาง  จะทำให้สะดวกต่อการใช้ร่วมกัน  และการดูแลบำรุงรักษา

                     สถานที่พักผ่อน

                     พื้นที่ของวิทยาลัยในส่วนที่เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียนนักศึกษา ส่วนใหญ่จัดอยู่บริเวณด้านหน้า  ของอาคารเรียน  อาคารฝึกงาน  จัดว่ายังมีสถานที่พักผ่อนน้อย  เนื่องจากไม่สามารถขยายพื้นที่ได้อีก  ปรับปรุงได้แต่เพียงสภาพความร่มรื่น  โดยใช้ร่มเงาของต้นไม้

                     ปัญหาอุปสรรค

                     จากสภาพทั่วไปของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีเรื่องพื้นที่  การเดินทางไป – มา อาคารเรียน ห้องปฏิบัติการกลาง  และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  พอสรุปเป็นปัญหาและอุปสรรค  ได้ดังนี้

     พื้นที่ของวิทยาลัยคับแคบ ไม่สามารถขยายในแนวราบได้  เนื่องจากอยู่ติดกับชุมชนซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่น

    การเดินทางของนักเรียน นักศึกษาส่วนมากใช้พาหนะรถจักรยานยนต์ ทำให้เกิดปัญหาการใช้พื้นที่ของวิทยาลัยเป็นที่จอดรถนักเรียนนักศึกษา

    อาคารเรียนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอกับการใช้งาน  อาคารโรงฝึกงานค่อนข้างคับแคบ  ซึ่งสมควรขยายในแนวตั้งปรับเป็นอาคาร  3 หรือ 4 ชั้น แต่ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการสูง

    การดำเนินการจัดทำห้องปฏิบัติการกลาง (Central Lab)  เพื่อใช้ร่วมกันระหว่างแผนกช่างต่างๆ สะดวกในการดูแลบำรุงรักษา แต่ขาดงบประมาณในการดำเนินการ

    สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของนักเรียนนักศึกษา อาจจัดเพิ่มขึ้นได้หากปรับพื้นที่อาคารฝึกงานเป็น  3 หรือ 4 ชั้น  โดยให้ชั้นล่างเป็นสถานที่นั่งพักผ่อน  ปรับภูมิทัศน์โดยใช้ต้นไม้  หรือซุ้มไม้เพื่อให้ร่มเงาและสร้างอากาศที่ดี  และปรับสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่นมากขึ้น

    วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี 115 ถนนบริพัตร ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี 7600 โทรศัพท์: 0-3242-5432, 0-3242-5705

    ปรัชญา

          ความรู้ดี มีฝีมือ ถือคุณธรรม สัมพันธ์ชุมชน

    วิสัยทัศน์ (Vision)

                    “สถานศึกษาผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะตรงตามความต้องการของประเทศในศตวรรษที่ 21  ด้วยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

                    พันธกิจ (Mission)

                    วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี กำหนดพันธกิจเพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ดังนี้

    พันธกิจที่ 1 จัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร ด้านการอาชีวศึกษาสู่มาตรฐานสากล

                                    เป้าประสงค์         

    1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
    2. พัฒนาหลักสูตรที่ใช้ในสถานศึกษา หรือกำหนดรายวิชาในแต่ละวิชาชีพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงาน โดยความร่วมมือของชุมชน ท้องถิ่น และสถานประกอบการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     

     

    กลยุทธ์ที่ ๑ จัดทำแผนการเรียนการสอนให้ตรงกับสมรรถนะตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ

    กลยุทธ์ที่ ๒ ทำ MOU ร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนร่วมกันสถานศึกษาและสถานประกอบการ

     

    พันธกิจที่ ๒ พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี

                                    เป้าประสงค์

    1. ส่งเสริมหรือจัดให้บุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ
    2. ร่วมมือกับสถานประกอบการและองค์กรภายนอก พัฒนาบุคลากร
    3. พัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษาให้ทันต่อเทคโนโลยี

                    กลยุทธ์ที่ ๑ จัดอบรมบุคลากรของสถานศึกษาร่วมมือกับสถานประกอบการ

     

    พันธกิจที่ 3 ส่งเสริมการนำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพและบริการชุมชน

                                    เป้าประสงค์

    จัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะการซ่อม สร้าง เพื่อการประกอบอาชีพ

    กลยุทธ์ที่ ๑ พัฒนาการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ

    กลยุทธ์ที่ ๒ บริการวิชาชีพแก่ชุมชน

     

    พันธกิจที่ 4 อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น

                    เป้าประสงค์

    1. พัฒนานักศึกษาด้านกิจกรรม อวท. ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    2. พัฒนาคุณภาพการดำรงชีวิตของบุคลากรในองค์กร การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริม การดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณี และความเป็นชนชาติไทย ที่มีความรักสามัคคี จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์

    กลยุทธ์ที่ ๑ ส่งเสริม สนับสนุน ศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์สังคมไทย

    กลยุทธ์ที่ ๒ ส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

     

    พันธกิจที่ 5 บริหารจัดการสถานศึกษาด้วยหลักธรรมาภิบาลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                                    เป้าประสงค์

    1. พัฒนาคุณภาพการบริหารของสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม
    2. บริหารจัดการทรัพยากรสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    กลยุทธ์ที่ ๑ ส่งเสริมความเข้าใจ สร้างความร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม

    กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาองค์ตามหลักธรรมภิบาลให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีวศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    กลยุทธ์ที่ ๓ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

     

                    อัตลักษณ์

                     ทักษะฝีมือช่าง

     

                    เอกลักษณ์

                     บริการวิชาชีพสู่ชุมชน

    สีประจำ                                    น้ำเงิน ขาว

                                                    น้ำเงิน หมายถึง ความกล้าหาญ ความอดทน ความมุมานะ

                                                    ขาว หมายถึง ความสุภาพ ความซื่อสัตย์ ความมีคุณธรรม

     

    ต้นไม้ประจำวิทยาลัย        ต้นจามจุรี

     

    ดอกไม้ประจำวิทยาลัย      ดอกพิกุล

     

    คติพจน์                                                 ทุ – ส -นิ -ม (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)  หมายถึง การรู้จักแก้ปัญหาด้วยเหตุด้วยผล และปฏิบัติตนอย่างมีคุณภาพ

     

    เพลงมาร์ชวิทยาเทคนิคเพชรบุรี

     วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

    สถาบันนี้ที่ผลิตศิษย์รวมช่าง      

     พัฒนาวิชาชีพไม่หยุดยั้ง

     นี่คือพลังของศิษย์วิษณุกรรม

      พวกเราร่วมใจรักใคร่สามัคคี

     ความรู้ดี มีฝีมือ ถือคุณธรรม

     สีพวกเรา น้ำเงินขาวพราวเลิศล้ำ

     ชุมชนโน้มนำ ช่วยกันทำและพัฒนา

     ก่อตั้งโดยพระเทพวงศาจารย์

     รางวัลพระราชทาน สมัครสมานร่วมใจกันมา

     ได้รับคำชม จากกรมอาชีวศึกษา

      เชิงช่างก้าวหน้า ดีเด่นไม่เป็นรองใคร

     วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี

     ริมฝั่งชลธี ร่มจามจุรีที่พักใจ

     หลวงพ่อเผือก หลวงพ่อเกตุ ป้องกันเภทภัย

      พวกเราภูมิใจ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี